fbpx

Medical and Science Media

หลักสูตร ทล.บ. สาขาวิชามีเดียทางการแพทย์และวิทยาศาสตร์

หลักสูตรที่มีการผสมผสานระหว่างศาสตร์ทางด้านศิลปะ ศาสตร์ทางด้านเทคโนโลยี ศาสตร์ทางด้านนิเทศศาสตร์ และศาสตร์ทางด้านการแพทย์และวิทยาศาสตร์ จึงเป็นหลักสูตรที่มีความเป็นพหุวิทยาการ (Multidisciplinary) ซึ่งมุ่งเน้นให้บัณฑิตมีความรู้ความสามารถและทักษะในการออกแบบ มีความสามารถในการบูรณาการและความคิดสร้างสรรค์ ทั้งในสื่อด้านภาพวาด ภาพถ่าย วิดีทัศน์ หุ่นจำลอง การออกแบบกราฟิก ภาพเคลื่อนไหว 2 มิติ
ภาพเคลื่อนไหว 3 มิติ สามารถผลิตผลงานสื่อในทางการแพทย์และวิทยาศาสตร์ออกมาเป็นสื่อเพื่อการเรียนรู้ การวินิจฉัย การนาเสนอ การประชาสัมพันธ์ และการวิจัยได้อย่างเป็นมืออาชีพ มีคุณธรรมจริยธรรม และมีความรับผิดชอบต่อสังคมในวงการวิชาชีพ

Program Profile


ชื่อหลักสูตร


(ภาษาไทย) : หลักสูตรเทคโนโลยีบัณฑิต สาขาวิชามีเดียทางการแพทย์และวิทยาศาสตร์

(ภาษาอังกฤษ) : Bachelor of Technology Program in Medical and Science Media


ชื่อปริญญาและสาขาวิชา


ชื่อเต็ม
(ภาษาไทย) : เทคโนโลยีบัณฑิต (มีเดียทางการแพทย์และวิทยาศาสตร์)(ภาษาอังกฤษ) : Bachelor of Technology Program (Medical and Science Media)

ชื่อย่อ
(ภาษาไทย) : ทล.บ . (มีเดียทางการแพทย์และวิทยาศาสตร์)
(ภาษาอังกฤษ) : B.Tech. (Medical and Science Media)]


สถานภาพของหลักสูตรและการพิจารณาอนุมัติ/เห็นชอบหลักสูตร


หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2563 กำหนดเปิดสอน สิงหาคม 2563 ได้พิจารณากลั่นกรองโดยสภาวิชาการ ในการประชุมครั้งที่ 8/2563 เมื่อวันที่ 10 เดือน สิงหาคม พ.ศ. 2563 ได้รับอนุมัติ/เห็นชอบหลักสูตรจากสภามหาวิทยาลัยฯ ในการประชุมครั้งที่ 253 เมื่อวันที่ 2 เดือน กันยายน พ.ศ. 2563


สถานที่จัดการเรียนการสอน


อาคารเทคโนโลยีมีเดียและศิลป์ประยุกต์ (A1) โครงการร่วมบริหารหลักสูตร ศล.บ. สาขาวิชามีเดียอาตส์ และ วท.บ.สาขาวิชาเทคโนโลยีมีเดีย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.บางขุนเทียน)


ผลลัพธ์การเรียนรู้ระดับหลักสูตร (Program Learning Outcome: PLOs)

PLO1 :

สามารถนำความรู้และทักษะด้านศิลปะ การออกแบบสื่อและการรับรู้ของมนุษย์ เพื่อนำมาออกแบบสื่อด้านการแพทย์และวิทยาศาสตร์

SubPLO 1.1 : สามารถอธิบายเนื้อหา หลักการและองค์ความรู้ด้านการวาดเส้น การวาดภาพประกอบ การออกแบบกราฟิก หุ่นจำลองทางการแพทย์ ภาพเคลื่อนไหว แอนิเมชั่นทั้งแบบ 2 มิติ และ 3 มิติ

SubPLO 1.2 : มีทักษะด้านปฏิบัติการ ด้านการวาดภาพประกอบ การออกแบบหุ่นจำลองทางการแพทย์ ภาพเคลื่อนไหวแอนิเมชั่นทั้งแบบ 2 มิติ และ 3 มิติ

PLO2 :

สามารถนำความรู้และความเข้าใจในองค์ความรู้ด้านการแพทย์ วิทยาสศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อนำมาออกแบบสื่อด้านการแพทย์และวิทยาศาสตร์

SubPLO 2.1 : สามารถอธิบายเนื้อหา หลักการและองค์ความรู้เบืองต้น ทางด้านกายวิภาคศาสตร์ สรีรวิทยา พยาธิวิทยา และจุลชีววิทยาทางการแพทย์

SubPLO 2.2 : สามารถ อธิบายเนื้อหา หลักการและองค์ความรู้เบี้องต้น ทางด้าน ความเป็นมา ประเภท ของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และวิธิการหาความรู้บนพื้นฐานวิทยาศาสตร์

PLO3 :

สามารถนำความรู้ด้านศิลปะ การออกแบบสื่อ การรับรู้ของมนุษย์ การแพทย์ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มาประยุกต์เพื่อใช้แก้ปัญหาด้านสื่อทางการแพทย์และวิทยาศาสตร์

SubPLO 3.1 : สามารถ สืบค้น รวบรวมองค์ความรู้ศิลปะ การออกแบบสื่อ การรับรู้ของมนุษย์ การแพทย์ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อเป็นข้อมูลสำหรับการผลิตสื่อด้านการแพทย์และวิทยาศาสตร์ได้

SubPLO 3.2 : สามารถ นำองค์ความรู้ด้านศิลปะ การออกแบบสื่อการรับรู้ของมนุษย์ การแพทย์และวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมาประยุกต์เป็นแนวทางในการออกแบบและผลิตสื่อเพื่อแก้ปัญหาด้านสื่อการแพทย์และวิทยาศาสตร์ได้

SubPLO 3.3 : สามารถสื่อสารผ่านการนำเสนอผลงาน การเขียนรายงานและอภิปราย การนำเสนอแนวคิดจากการวางแผนการทำงาน การออกแบบและผลิตสื่อด้านการแพทย์และวิทยาศาสตร์ได้

PLO4 :

มีจรรยาบรรณในการทำงาน สามาถทำงานเป็นทีม สามารถนำความรู้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อสังคม

SubPLO 4.1 : มีระเบียบวินัย ตรงต่อเวลา เคารพกฏระเบียบสังคม ผลิตสื่อที่มีเนื้อหาทางการแพทย์และวิทยาศาสตร์ตามความเป็นจริงไม่บิดเบือน

SubPLO 4.2 : รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น ปฏิบัติตามบทบาทได้ทั้งผู้นำและผู้ตาม


คุณสมบัติผู้เข้าศึกษาต่อ


  • สาขาวิชามีเดียอาตส์ (ทุกกลุ่มวิชาเอก) เป็นผู้สำเร็จการศึกษามัธยมศึกษาตอนปลายทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ หรือประกาศนียบัตรที่กระทรวงศึกษาธิการเทียบเท่า และผ่านเกณฑ์คัดเลือกโดยสาขาวิชามีเดียทางการแพทย์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
  • ผ่านระบบการคัดเลือกตามเกณฑ์ของสานักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สป.อว.) หรือผ่านการคัดเลือกโดยมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี เป็นผู้ดำเนินการ หรือผ่านการคัดเลือกของหลักสูตร เทคโนโลยีบัณฑิต สาขาวิชามีเดียทางการแพทย์และวิทยาศาสตร์ (หลักสูตรปริญญาตรีทางวิชาการ) โครงการร่วมบริหารหลักสูตรฯ (มีเดีย) คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบ มจธ. เป็นผู้ดำเนินการ พิจารณาตามกรอบโดยเมื่อหลักฐานครบผ่านตามเกณฑ์ จึงสามารถเข้าการสอบข้อเขียน ความถนัด และการสอบสัมภาษณ์ ตามกำหนดการที่ประกาศรับสมัคร ซึ่งในการคัดเลือกเน้นผู้มีความคิดสร้างสรรค์ ทักษะทางด้านศิลปะการออกแบบและแฟ้มสะสมผลงาน ให้คณะกรรมการในการพิจารณาประกอบ โดยการรับนักศึกษา แบ่งประเภทการรับนักศึกษา ดังนี้
    • รอบที่ 1 รับสมัครและคัดเลือกโดยมหาวิทยาลัย (Active Recruitment / ความสามารถพิเศษและทุนเพชรพระจอมเกล้า / คัดเลือกตรงเรียนดี)
    • รอบที่ 2 โครงการ Active Recruitment
      (เกณฑ์ Active / GAT-PAT เพื่อกระจายโอกาสทางการศึกษา / GAT-PAT เพื่อผู้เรียนดี มีคุณธรรม)
    • รอบที่ 3 การรับตรงร่วมกัน และแอดมิชชั่นกลาง TCAS
    • รอบที่ 4 รับสมัครและคัดเลือกโดยมหาวิทยาลัย

จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร 135 หน่วยกิต


โครงสร้างหลักสูตร

ก. หมวดวิชาศึกษาทั่วไป31หน่วยกิต
ข. หมวดวิชาเฉพาะทางด้านมีเดียทางการแพทย์ฯ98หน่วยกิต
ข.1 กลุ่มวิชาพื้นฐานมีเดีย6หน่วยกิต
ข.2 กลุ่มวิชาทางการแพทย์และวิทยาศาสตร์12หน่วยกิต
ข.3 กลุ่มวิชาศิลปะและการออกแบบ24หน่วยกิต
ข.4 กลุ่มวิชามีเดีย21หน่วยกิต
ข.5 กลุ่มวิชามีเดียทางการแพทย์และวิทยาศาสตร์15หน่วยกิต
ข.6 กลุ่มวิชาเลือกมีเดีย3หน่วยกิต
ข.7 กลุ่มวิชาโครงงาน5หน่วยกิต
ข.8 กลุ่มวิชาเรียนรู้ร่วมการทำงาน9หน่วยกิต
ข.9 กลุ่มวิชาเลือกในหลักสูตร3หน่วยกิต
ค. หมวดวิชาเลือกเสรี6หน่วยกิต

ค่าใช้จ่ายตลอดหลักสูตร : 298,500 บาท

(ค่าบำรุงการศึกษา 12,000 บาท/ภาคการศึกษา + ค่าลงทะเบียน 1,500 บาท/หน่วยกิต)


ทล.บ. มีเดียทางการแพทย์และวิทยาศาสตร์ หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2563 

B.Tech. Medical and Science Media, 2020

Program Profile
Program Details


อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา


  • นักเวชนิทัศน์ นักโสตทางการแพทย์ และ ช่างภาพทางการแพทย์ ในโรงพยาบาลรัฐ โรงพยาบาลเอกชน หน่วยงานนิติวิทยาศาสตร์
  • นักสื่อสารสุขภาพและวิทยาศาสตร์ และหน่วยงานการศึกษาที่มีคณะที่มีการเรียนการสอนเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์สุขภาพ
  • ฝ่ายเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ของโรงพยาบาลรัฐและเอกชน
  • นักออกแบบภาพประกอบทางการแพทย์และวิทยาศาสตร์
  • นักสื่อสารสุขภาพและสื่อสารวิทยาศาสตร์
  • นักออกแบบกราฟิก ช่างภาพ
  • นักผลิตหุ่นจำลองทางการแพทย์และวิทยาศาสตร์
  • นักวิชาการโสตทัศนศึกษา นักเทคโนโลยีทางการศึกษา ในสถาบันการศึกษา และหน่วยงานอื่นๆที่เกี่ยวข้อง
  • นักผลิตรายการ นักผลิตสื่อวีดีทัศน์ และสื่อเคลื่อนไหว 2 มิติ และ 3 มิติ