
Media Arts
หลักสูตร ศล.บ. สาขาวิชามีเดียอาตส์
หลักสูตรที่จัดการเรียนการสอนที่เน้นการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์เพื่อสังคม และตอบโจทย์อุตสาหกรรมสื่อต่างๆ
เช่น อุตสาหกรรม แอนิเมชัน อุตสาหกรรมภาพยนตร์ อุตสาหกรรมด้านการออกแบบกราฟิก
ซึ่งมีเดียอาตส์ มุ่งเน้นสร้างทักษะในการสร้างสรรค์ผลงาน และ พัฒนาแนวคิดเพื่อสร้างสรรค์ผลงานศิลปะและสื่อต่างๆ
Program Profile
ชื่อหลักสูตร
(ภาษาไทย) : หลักสูตรศิลปบัณฑิต สาขาวิชามีเดียอาตส์
(ภาษาอังกฤษ) : Bachelor of Fine Arts Program in Media Arts

ชื่อปริญญาและสาขาวิชา
ชื่อเต็ม
(ภาษาไทย) : ศิลปบัณฑิต (มีเดียอาตส์)
(ภาษาอังกฤษ) : Bachelor of Fine Arts (Media Arts)
ชื่อย่อ
(ภาษาไทย) : ศล.บ. (มีเดียอาตส์)
(ภาษาอังกฤษ) : B.F.A. (Media Arts)
วิชาเอก

กลุ่มเอก
การออกกราฟิก

กลุ่มเอก
แอนิเมชัน

กลุ่มเอก
ภาพยนตร์และภาพเคลื่อนไหว
สถานภาพของหลักสูตรและการพิจารณาอนุมัติ/เห็นชอบหลักสูตร
เริ่มใช้มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2551 โดยปรับปรุงจากหลักสูตรหลักสูตรศิลปบัณฑิต สาขาวิชามีเดียอาตส์
หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ.2560 ได้พิจารณากลั่นกรองโดยสภาวิชาการ ในการประชุมครั้งที่ ….1…./…2565….
เมื่อวันที่….10…. เดือน….มกราคม….. พ.ศ….2565….ได้รับอนุมัติ/เห็นชอบหลักสูตรจากสภามหาวิทยาลัยฯ
ในการประชุมครั้งที่ ….270…..เมื่อวันที่….2…… เดือน…..กุมภาพันธ์…….. พ.ศ. ….2565…….
สถานที่จัดการเรียนการสอน
อาคารเทคโนโลยีมีเดียและศิลป์ประยุกต์ (A1) โครงการร่วมบริหารหลักสูตร ศล.บ. สาขาวิชามีเดียอาตส์ และ วท.บ.สาขาวิชาเทคโนโลยีมีเดีย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.บางขุนเทียน)
ผลลัพธ์การเรียนรู้ระดับหลักสูตร (Program Learning Outcome: PLOs)
PLO1 :
สามารถเรียนรู้และเข้าใจศิลปะและการออกแบบในด้านมีเดีย รวมถึงค้นหาแรงบันดาลใจ/กระตุ้นในการออกแบบชิ้นงาน
SubPLO 1.1 : สามารถเรียนรู้พื้นฐานทางศิลปะและการออกแบบ (Learn)
SubPLO 1.2 : สามารถเข้าใจหลักการพื้นฐานทางศิลปะและการออกแบบ (Understand)
SubPLO 1.3 : สามารถสืบค้นข้อมูลศิลปะและการออกแบบเพื่อสร้างแรงบันดาลใจ (Find)
PLO2 :
สร้างกรอบแนวคิดและเลือกใช้เครื่องมือทางศิปะและการออกแบบที่เหมาะสมกับการรับรู้ของกลุ่มเป้าหมายอย่างสร้างสรรค์
SubPLO 2.1 : สามารถเชื่อมโยงข้อมูลศิลปะและการออกแบบ เพื่อนำเสนอแนวความคิดในการผลิตสื่อ (Concept)
SubPLO 2.2 : สามารถใช้เครืองมือศิลปะและการออกแบบในการผลิตมีเดียได้อย่างร่วมสมัย (Tools)
SubPLO 2.3 : ความสามารถการออกแบบได้อย่างมีหลักการและเหตุผล (Design)
PLO3 :
สามารถวางแผน และบริหารจัดการ การสร้างสรรค์มีเดียได้อย่างมีสุนทรียะ
SubPLO 3.1 : สามารถสื่อสารแนวความคิดในการออกแบบได้ (Communicate)
SubPLO 3.2 : สามารถบริหารจัดการการผลิตมีเดียอย่างมืออาชีพ (Management)
SubPLO 3.3 : สามารถสร้างสรรค์มีเดียได้อย่างมีสุนทรียะ (Create)
PLO4 :
สร้างประยุกต์ พัฒนาและปรับตัวด้านศิลปะและการออกแบบเพื่อให้สอดคล้องกับบริบทและพลวัตรทางสังคม
SubPLO 4.1 : สามารถประยุกต์ใช้องค์ความรู้และทักษะด้านศิลปะและการออกแบบได้อย่างเหมาะสม (Applied)
SubPLO 4.2 : สามารถปรับใช้ความรู้และทักษะด้านศิลปะและการออกแบบให้สอดคล้องกับบริบทและพลวัตรทางสังคม
PLO5 :
มีคุณธรรมจริยธรรม มีความรับผิดชอบต่อสังคม และปฏิบัติงานตามจรรยาบรรณวิชาชีพ
SubPLO 5.1 : สามารถผลิตสื่อด้วยความมีจิตสำนึก และมีความรับผิดชอบต่อสังคม
SubPLO 5.2 : จรรยาบรรณวิชาชีพในการผลิตสื่อ



คุณสมบัติผู้เข้าศึกษาต่อ
- สาขาวิชามีเดียอาตส์ (ทุกกลุ่มวิชาเอก) เป็นผู้สำเร็จการศึกษามัธยมศึกษาตอนปลายทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ หรือประกาศนียบัตรที่กระทรวงศึกษาธิการเทียบเท่า และผ่านเกณฑ์คัดเลือกโดยสาขาวิชามีเดียอาต ส์มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
- ผ่านระบบการคัดเลือกตามเกณฑ์ของสานักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สป.อว.) หรือผ่านการคัดเลือกโดยมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี เป็นผู้ดำเนินการ หรือผ่านการคัดเลือกของหลักสูตร ศิลปบัณฑิต สาขาวิชามีเดียอาตส์ (หลักสูตรปริญญาตรีทางวิชาการ) โครงการร่วมบริหารหลักสูตรฯ (มีเดีย) คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบ มจธ. เป็นผู้ดำเนินการ พิจารณาตามกรอบโดยเมื่อหลักฐานครบผ่านตามเกณฑ์ จึงสามารถเข้าการสอบข้อเขียน ความถนัด และการสอบสัมภาษณ์ ตามกำหนดการที่ประกาศรับสมัคร ซึ่งในการคัดเลือกเน้นผู้มีความคิดสร้างสรรค์ ทักษะทางด้านศิลปะการออกแบบและแฟ้มสะสมผลงาน ให้คณะกรรมการในการพิจารณาประกอบ โดยการรับนักศึกษา แบ่งประเภทการรับนักศึกษา ดังนี้
- รอบที่ 1 รับสมัครและคัดเลือกโดยมหาวิทยาลัย (Active Recruitment / ความสามารถพิเศษและทุนเพชรพระจอมเกล้า / คัดเลือกตรงเรียนดี)
- รอบที่ 2 โครงการ Active Recruitment
(เกณฑ์ Active / GAT-PAT เพื่อกระจายโอกาสทางการศึกษา / GAT-PAT เพื่อผู้เรียนดี มีคุณธรรม) - รอบที่ 3 การรับตรงร่วมกัน และแอดมิชชั่นกลาง TCAS
- รอบที่ 4 รับสมัครและคัดเลือกโดยมหาวิทยาลัย
จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร 132 หน่วยกิต
โครงสร้างหลักสูตร
ก. หมวดวิชาศึกษาทั่วไป | 31 | หน่วยกิต |
ข. หมวดวิชาเฉพาะ | 95 | หน่วยกิต |
ข.1 วิชาพื้นฐาน | 33 | หน่วยกิต |
ข.1.1 กลุ่มวิชาพื้นฐานมีเดีย | 6 | หน่วยกิต |
ข.1.2 กลุ่มวิชาพื้นฐานศิลปะและการออกแบบ | 27 | หน่วยกิต |
ข.2 กลุ่มวิชาเฉพาะด้าน | 30 | หน่วยกิต |
วิชาเอกบังคับ | ||
ข.2.1 กลุ่มวิชาเอกออกแบบกราฟิก | ||
ข.2.2 กลุ่มวิชาเอกแอนิเมชั่น | ||
ข.2.3 กลุ่มวิชาเอกภาพยนตร์และภาพเคลื่อนไหว | ||
ข.3 กลุ่มวิชามีเดียอาตส์เลือก | 18 | หน่วยกิต |
ข.4 กลุ่มวิชาสัมมนา โครงงาน และฝึกงาน | 14 | หน่วยกิต |
ค. หมวดวิชาเลือกเสรี | 6 | หน่วยกิต |
ค่าใช้จ่ายตลอดหลักสูตร : 294,000 บาท
(ค่าบำรุงการศึกษา 12,000 บาท/ภาคการศึกษา + ค่าลงทะเบียน 1,500 บาท/หน่วยกิต)



อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา
นักออกแบบในหน่วยงานรัฐและเอกชน เช่น
- นักออกแบบในหน่วยงานรัฐและเอกชน ในสายงานการออกแบบกราฟิก
- นักออกแบบกราฟิก (Graphic Designer)
- นักออกแบบภาพเคลื่อนไหว (Motion Graphic Designer)
- นักออกแบบอินเตอร์แอคทีฟ (Interactive Designer)
- นักออกแบบตัวอักษร (Type Designer)
- นักวาดภาพประกอบ (Illustrator)
- นักออกแบบเว็บไซต์ (Web Designer)
- นักออกแบบอัตลักษณ์องค์กร (Brand Designer)
- ผู้กำกับศิลป์ (Art Director)
- นักออกแบบสร้างสรรค์เนื้อหา (Content Creator)
- นักออกแบบประสบการณ์การใช้งาน (UX / UI Designer)
- นักออกแบบอีเวนท์ (Event designer)
- นักออกแบบในหน่วยงานรัฐและเอกชน ในสายงานแอนิเมชัน
- นักสร้างสรรค์งานแอนิเมชัน (Animator)
- นักสร้างเทคนิคพิเศษด้วยคอมพิวเตอร์ (Visual Effects Artists)
- นักสร้างภาพดิจิตอล (Digital Painting Artists)
- ผู้ช่วยผู้ผลิตแอนิเมชัน (Co-Producer)
- นักสร้างสรรค์งานองค์ประกอบศิลป์ (Concept Artist)
- นักวาดการ์ตูน (Comic Artist)
- ผู้กำกับศิลป์ (Art Director )
- นักออกแบบตัวละคร (Character Designer)
- นักออกแบบในหน่วยงานรัฐและเอกชนในสายภาพยนตร์และภาพเคลื่อนไหว
- ผู้กำกับศิลป์ (Art Director )
- ผู้อำนวยการสร้าง (Producer)
- นักสร้างเทคนิคพิเศษในภาพยนตร์ (Special Effect Artist)
- นักออกแบบงานสร้าง (Production Designer)
- นักสร้างหนัง (Filmmaker)
- ผู้กำกับ (Director)
- ผู้สร้างสรรค์วิดิโอ (Content creator)
- นักทำโมเดลและแบบจำลอง (Diorama &Model maker)
- นักตัดต่องานภาพยนตร์ (Editor)
- ผู้ประกอบการ ผู้ประกอบธุรกิจ (Entrepreneur)
- งาน Post Production อื่นๆ
- นักออกแบบกราฟิก (Graphic Designer)
- อาชีพนักออกแบบสร้างสรรค์งานอิสระ (Freelance)
- นักวิชาการ นักประชาสัมพันธ์ นักวิจัย เป็นต้น


