fbpx

Media Technology

หลักสูตร วท.บ. สาขาวิชาเทคโนโลยีมีเดีย

หลักสูตร เทคโนโลยีมีเดีย มุ่งผลิตบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญและทักษะในการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีมีเดียในด้านต่างๆ โดยการบูรณาการศาสตร์
3 ด้าน ได้แก่ เทคโนโลยี ศิลปะและการออกแบบ และพฤติกรรมการรับรู้ของมนุษย์ เพื่อสร้างสรรค์นวัตกรรมที่สามารถตอบสนองการดำเนินชีวิตของมนุษย์ และเพื่อประยุกต์ใช้มีเดียกับศาสตร์อื่นๆ เพื่อให้ศาสตร์นั้นๆ มีประสิทธิภาพการทางานที่ดีขึ้น เช่น การแพทย์ เกม ดิจิทัลคอนเทนต์ บันเทิง นิทรรศการและงานโชว์ และอุปกรณ์สื่อสารไร้สายงานโชว์ และอุปกรณ์สื่อสารไร้สายละสื่อต่างๆ

Program Profile


ชื่อหลักสูตร


(ภาษาไทย) : หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีมีเดีย

(ภาษาอังกฤษ) : Bachelor of Science Program in Media Technology


ชื่อปริญญาและสาขาวิชา


ชื่อเต็ม
(ภาษาไทย) : วิทยาศาสตรบัณฑิต (เทคโนโลยีมีเดีย)
(ภาษาอังกฤษ) : Bachelor of Science Program (Media Technology)


ชื่อย่อ
(ภาษาไทย) : วท.บ. (เทคโนโลยีมีเดีย)
(ภาษาอังกฤษ) : B.Sc. (Media Technology)


วิชาเอก


กลุ่มเอก

เทคโนโลยีมีเดียดิจิทัล

กลุ่มเอก

การพัฒนาเกม

กลุ่มเอก

นวัตกรรมมีเดียทางการแพทย์


สถานภาพของหลักสูตรและการพิจารณาอนุมัติ/เห็นชอบหลักสูตร


หลักสูตรได้รับอนุมัติ/เห็นชอบหลักสูตรจากสภามหาวิทยาลัยฯ ในการประชุมครั้งที่ 251
เมื่อวันที่ 1 เดือน กรกฎาคม พ.ศ. 2563 และ สป.อว. ได้พิจารณาความสอดคล้องของหลักสูตรนี้ผ่านระบบ CHECO แล้ว เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม 2563 และออกรหัสหลักสูตร 25510141102195


สถานที่จัดการเรียนการสอน


อาคารเทคโนโลยีมีเดียและศิลป์ประยุกต์ (A1) โครงการร่วมบริหารหลักสูตร ศล.บ. สาขาวิชามีเดียอาตส์ และ วท.บ.สาขาวิชาเทคโนโลยีมีเดีย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.บางขุนเทียน)


ผลลัพธ์การเรียนรู้ระดับหลักสูตร (Program Learning Outcome: PLOs)


PLO1 :

Knowledge and Professional Skills

สร้างสรรค์ผลงานทางด้านเทคโนโลยีปฏิสัมพันธ์ เพื่อตอบสนองความต้องการของธุรกิจด้านอุตสาหกรรมเกม, ดิจิทัล หรือสุขภาพ

SubPLO 1.1 : สามารถอธิบายความรู้ทางด้านฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ พฤติกรรม การรับรู้ ศิลปะการออกแบบ สำหรับงานด้านเทคโนโลยีปฏิสัมพันธ์

SubPLO 1.2 : สามารถออกแบบงานต้นแบบทางด้านเทคโนโลยีปฏิสัมพันธ์โดยการประยุกต์ใช้ความรู้ทางด้านฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์

SubPLO 1.3 : สร้างสรรค์ผลงานด้านเทคโนโลยีปฏิสัมพันธ์ที่ผ่านการทดสอบ

PLO2 :

Communication and Collaboration Skills

มีความสามารถในการทำงานร่วมกัน นำเสนอผลงานที่สร้างขึ้นให้เป้นที่ประจักษ์

SubPLO 2.1 : สามารถนำเสนอผลงาน เขียนรายงาน และอภิปรายผลงานได้

SubPLO 2.2 : สามารถสื่อสารและทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ รู้หน้าที่ของตนเองในทีม

PLO3 :

Creative Problem-Solving Skill

สามารถนำเสนอวิธีการแก้ปัญหาทางด้านงานที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีปฏิสัมพันธ์อย่างสร้างสรรค์

SubPLO 3.1 : สามารถคิดวิเคราะห์กระบวนการสร้างสรรค์งานทางด้านเทคโนโลยีปฏิสัมพันธ์

SubPLO 3.2 : สามารถคิดอย่างเป็นระบบโดยการเขื่อมโยงความรู้ที่เกี่ยวกับเทคโนโลยีปฏิสัมพันธ์

SubPLO 3.3 : สามารถตัดสินใจแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์โดยมีหลักการและเหตุผล

PLO4 :

Social Responsibility and Professional Ethics

เป็นผู้มีความเคารพตนเอง เคารพผู้อื่น มีจรรยาบรรณและสามาถนำความรู้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อสังคม

SubPLO 4.1 : มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ของตนเอง เคารพกฎระเบียบสังคม และมีวินัยตรงต่อเวลา

SubPLO 4.2 : ประพฤติตามจรรยาบรรณในการทำงานวิชาชีพ


คุณสมบัติผู้เข้าศึกษาต่อ


  • สาขาวิชามีเดียเทคโนโลยี (ทุกกลุ่มวิชาเอก) เป็นผู้สำเร็จการศึกษามัธยมศึกษาตอนปลายกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ช่วงชั้นที่ 4 หรือสายการเรียนวิทยาศาสตร์ – คณิตศาสตร์หรือสายการเรียนคณิตศาสตร์ หรือประกาศนียบัตรที่กระทรวงศึกษาธิการเทียบเท่า และผ่านเกณฑ์คัดเลือกโดยสาขาวิชาเทคโนโลยีมีเดีย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
  • ผ่านระบบการคัดเลือกตามเกณฑ์ของสานักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สป.อว.) หรือผ่านการคัดเลือกโดยมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี เป็นผู้ดำเนินการ หรือผ่านการคัดเลือกของหลักสูตร วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีมีเดีย (หลักสูตรปริญญาตรีทางวิชาการ) โครงการร่วมบริหารหลักสูตรฯ (มีเดีย) คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบ มจธ. เป็นผู้ดำเนินการ พิจารณาตามกรอบโดยเมื่อหลักฐานครบผ่านตามเกณฑ์ จึงสามารถเข้าการสอบข้อเขียน ความถนัด และการสอบสัมภาษณ์ ตามกำหนดการที่ประกาศรับสมัคร โดยการรับนักศึกษา แบ่งประเภทการรับนักศึกษา ดังนี้
    • รอบที่ 1 รับสมัครและคัดเลือกโดยมหาวิทยาลัย (Active Recruitment / ความสามารถพิเศษและทุนเพชรพระจอมเกล้า / คัดเลือกตรงเรียนดี)
    • รอบที่ 2 โครงการ Active Recruitment
      (เกณฑ์ Active / GAT-PAT เพื่อกระจายโอกาสทางการศึกษา / GAT-PAT เพื่อผู้เรียนดี มีคุณธรรม)
    • รอบที่ 3 การรับตรงร่วมกัน และแอดมิชชั่นกลาง TCAS
    • รอบที่ 4 รับสมัครและคัดเลือกโดยมหาวิทยาลัย

จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร 138 หน่วยกิต


โครงสร้างหลักสูตร

ก. หมวดวิชาศึกษาทั่วไป31หน่วยกิต
ข. หมวดวิชาเฉพาะ101หน่วยกิต
ข.1 วิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์10หน่วยกิต
ข.2 วิชาพื้นฐานมีเดีย6หน่วยกิต
ข.3 วิชาบังคับเทคโนโลยีมีเดีย48หน่วยกิต
ข.4 วิชาบังคับตามกลุ่มวิชา28หน่วยกิต
ข.5 วิชาเลือกในหลักสูตร9หน่วยกิต
ค. หมวดวิชาเลือกเสรี6หน่วยกิต

ค่าใช้จ่ายตลอดหลักสูตร : 303,000 บาท

(ค่าบำรุงการศึกษา 12,000 บาท/ภาคการศึกษา + ค่าลงทะเบียน 1,500 บาท/หน่วยกิต)


วท.บ. เทคโนโลยีมีเดีย หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2563

B.Sc. Media Technology, 2020

Program Profile
Program Details


อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา


นักออกแบบในหน่วยงานรัฐและเอกชน เช่น

อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา

  • นักออกแบบและพัฒนาเทคโนโลยีฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์สาหรับสื่อปฏิสัมพันธ์และศิลปะจัดวาง
  • นักออกแบบเทคโนโลยีเพื่อสื่อโฆษณาและประชาสัมพันธ์ ในรูปแบบสื่อดิจิทัลคอนเทนท์ที่ทันสมัย
  • นักพัฒนาอุปกรณ์ที่สนับสนุนการวิจัย และนักพัฒนางานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีมีเดีย
  • นักออกแบบและพัฒนาเกมในรูปแบบซอฟต์แวร์และฮาร์ดแวร์
  • ผู้ประกอบการธุรกิจและอุตสาหกรรม ซอฟต์แวร์และฮาร์ดแวร์ทางด้านเกม
  • นักออกแบบและพัฒนาเทคโนโลยีฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์สาหรับใช้ในชีวิตประจาวัน
  • นักออกแบบและสร้างเทคโนโลยีสื่อดิจิทัลคอนเทนต์ทางด้านสาธารณสุข
  • นักออกแบบและพัฒนาเทคโนโลยีทางด้านซอฟต์แวร์และฮาร์ดแวร์เพื่องานด้านสุขภาพ
  • นักออกแบบและพัฒนาเทคโนโลยีสื่อเพื่อสนับสนุนงานวิจัยทางด้านสาธารณสุข